⭐☆Kyoho (เคียวโฮ)⭐
- >>มีกลิ่นหอมชัดเจนส่งกลิ่นอบอวนไปทั่วตั้งแต่ผลยังไม่สุก,มีความหวานสูงมาก,เปลือกหนาเนื้อจะคล้ายเจลลี่
- >>สามารถเก็บทานได้ตั้งแต่ลูกยังไม่สุกหรือเก็บทานได้ตั้งแต่ลูกเริ่มส่งกลิ่นหอมซึ่งจะได้รสชาติอมเปรี้ยวอมหวาน และเมื่อสุกเต็มที่จะหวานมาก)
- >> ติดช่อดอกง่ายมาก,ติดดก,ผลใหญ่ติดดอกได้ตลอดปีปลูกง่ายเติบโตเร็ว
ข้อมูลขององุ่น
สายพันธุ์ Kyoho
♡คำแนะนำในการเลือกปลูก♡
- >>องุ่นพันธุ์นี้มาจากประเทศญี่ปุ่น
- >>เป็นองุ่นประเภทใช้ทานสด,องุ่นไฮบริด Table grape
- >>พันธุ์นี้แนะนำสำหรับผู้ที่ชอบทานองุ่นที่ มีความหอมนำและหวานจัด อยู่ในผลเดียวกัน และได้อารมณ์ในการทานแบบทานเจลลีและสำหรับท่านที่อยากได้สายพันธุ์ที่ปลูกง่ายๆเติบโตเร็ว,ติดลูกแน่นอน,และติดลูกได้ตลอดปี ,ปลูกในกระถางก็ได้เหมาะสำหรับมือสมัครเล่นหรือท่านที่ต้องการปลูกองุ่นไว้กินเองบ้าน,ท่านที่ปลูกไม่เป็น,ไม่มีพื้นที่ปลูกมากนัก
- >>พันธุ์นี้จะติดผลง่าย ลูกใหญ่ สามารถติดได้เอง,แทบไม่ต้องซอยผล,ปลูกง่าย,โตเร็ว ต้านทานโรค,แมลงได้ดีทนอากาศร้อนได้ดี เจริญเติบโตได้ดีเมื่อปลูกในกระถาง เหมาะกับการปลูกในประเทศไทย ปลูกได้ทุกภาค
ลักษณะประจำพันธุ์ Kyoho
- >>เป็นข้อมูลที่เราได้ทำการเก็บรวบรวมจากการทดลองปลูกในศูนย์รวมทั้งข้อมูลจากต้นทางของสายพันธุ์ (สวนเสาวณีย์ ผู้นำเข้าและ บ้านสวน madebymee)
- >> มีกลิ่นหอมของ muscat ที่เด่นชัด
- >>องุ่นเคียวโฮรสชาติมีความเป็นกรดนิดๆและหวานมาก ฉ่ำน้ำ รสชาติจะคล้ายๆกับพวก องุ่น Concord ซึ่งน้ำตาลสูง ถึงคนจะนิยมแกะเปลือกออกก่อน แต่ก็มีคนที่กินทั้งเปลือก ซึ่งสามารถทานได้เพียงแต่อาจจะมีรสชาติขมเท่านั้นเอง ความหวาน: 18-20 Brix
- >> สีม่วงดำ,ผลทรงกลม
- >>มีเมล็ด 1-3 เมล็ด
- >>เปลือกหนา,เนื้อเป็นเจลลี่
- >>ระยะการเก็บเกี่ยวปานกลาง(ขึ้นกับการปลูกแต่ละแห่ง)
》 ช่อ,ดอก,พวง《
- >>ช่อใหญ่แข็งแรงดอกแน่น
- >>พวงใหญ่ 400g-450g
- >สมบูรณ์เพศ
- >> ลักษณะใบแบบแฉกตื้นๆบใหญ่ หนา สีเขียวเข้ม(ลักษณะคล้ายๆพันธุ์ Beneitsu,JeefongและGobori)
- >>ยอดอ่อน สีเขียวอ่อน
- >>ข้อปล้อง ปกติทั่วไป
- >>ให้ผลผลิตสูง ทรงพุ่มแข็งแรง
- >>มีความต้านทานต่อเพลี้ยไฟและเชื้อราได้ดีพอสมควร
- >>ปลูกง่ายโตเร็วติดดอกง่ายติดเยอะช่อห่าง แทบไม่ต้องซอยผล
- >>ทนสภาพอากาศร้อนสูงได้ดี
●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●
●ข้อแนะนำพิเศษในการเลี้ยงดูสายพันธุ์ Kyoho●
2.ต้องคอยตัดยอด,หน่อ,หนวด,ช่อดอกให้ทันต่อการเติบโต เพราะสายพันธุ์นี้จะโตเร็วมากและแอบติดช่อดอกได้ตลอดเวลา
3.พันธุ์นี้มีคุณสมบัติที่ดีมากทานอร่อยโตเร็วติดดอกเยอะ จะคุ้มค่ากับการทำโรงเรือนให้หรือควรทำหลังคาพลาสติกป้องกันฝน เพื่อป้องกันเชื้อรา
4.ต้องทำให้รากของเขาอยู่สุขสบาย ให้มากๆ หากรากอยู่อย่างสบายเขาก็จะเจริญเติบโตได้ดีและเร็ว ทั้งนี้ต้องเน้นที่วัสดุปลูกให้โปร่ง,ร่วนซุย น้ำไม่ขังดินไม่แฉะ
5.ตลอดการเลี้ยงดูต้องเน้นสร้าง"ระบบอินทรีย์"ให้มีอยู่อย่างพอเพียงและตลอดเวลา เพราะว่า การปลูกในกระถางหรือในที่จำกัดนั้น "ระบบอินทรีย์"จะไม่มีเลยหรือมีน้อยมาก ซึ่งจะส่งผลให้ต้นองุ่นเติบโตได้ช้าหรือไม่เติบโตเลย
การสร้างระบบอินทรีย์ให้เกิดขึ้นในที่จำกัดอย่างนี้ เราจำเป็นต้องใช้ปุ๋ยอินทรีย์เป็นหลักและเสริมด้วยปุ๋ยเคมีเพียงนิดหน่อยตามความเหมาะสมและตามช่วงอายุของต้นองุ่น
ซึ่งทางศูนย์วิจัยองุ่นนอกตำรา Amber grape farm ได้ทำการค้นคว้าวิจัยสร้างปุ๋ยที่จะใข้สำหรับเลี้ยงดูต้นองุ่นที่ปลูกในกระถางหรือปลูกในที่จำกัดโดยเฉพาะออกมาใช้ได้แล้ว
》สั่งซื้อ ปุ๋ย,สารอาหารสำหรับองุ่น《
>>>"คลิกที่นี่"<<<
●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●
ช่วงที่ 1.ช่วงการเติบโตและสร้างกิ่งแขนง
1.สร้างแตกกิ่งแขนง=สร้างได้ง่าย ระยะข้อปล้องพอดี(ไม่ห่างและไม่ถี่มาก)ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับควบคุมการตัดแต่ง,จัดกิ่งอย่างถูกต้อง(มีคลิบแนะนำการสร้างกิ่งแขนงให้สมบูรณ์)
2.ความเร็วการเติบโต= เติบโตได้เร็วมาก อาจยาวได้มากกว่า10 เซนติเมตรต่อวัน(ในสภาพที่ได้รับปุ๋ย,อาหารอย่างถูกต้องและต่อเนื่อง)
3. ช่วงแตกใบอ่อน= มีความต้านทานต่อการเข้าทำลายของเพลี้ยไฟได้ดีกว่าสายพันธุ์ ที่มีใบบางๆ)
●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●
ช่วงที่ 2ช่วงการสะสมอาหารเตรียมการติดดอกออกผล
1.สายพันธุ์นี้มีความสามารถในการสร้างฮอร์โมนในการแตกตาดอกได้ด้วยตัวเองเป็นอย่างดี ซึ่งจะทำให้เขาติดช่อได้ตลอดระยะการเติบโต(ต้องคอยเด็ดทิ้งเพื่อควบคุมการเติบโต)
2.ในช่วงของการเติบโตสร้างกิ่งแขนง พบว่ามีการสะสมอาอาหารบางส่วนไปพร้อมกันทำให้ต้นมีความพร้อมในการติดช่อดอกตลอดระยะการเติบโต(มักจะพบช่อดอกตลอดช่วงการเติบโต)ทำให้ ช่วงเวลาในการสะสมอาหารสั้นลง
3.มีการสะสมอาหารได้เร็ว และได้มากหากเราทำการสร้างใบให้สมบูรณ์จำนวนมากและใส่ปุ๋ยได้ถูกต้องทั้งชนิด,ปริมาณและเวลาที่ใส่(มีคลิบแนะนำเทคนิคการสร้างใบในช่วงเจริญเติบโต)
4.ในช่วงสะสมอาหารจะปลอดจากการเข้าทำลายของ โรค,แมลง เฉพาะช่วงนี้เพราะว่าช่วงนี้ไม่มีใบอ่อน,ยอดอ่อน (มีคลิบแนะนำการเลี้ยงช่วงสะสมอาหาร)
●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●
ช่วงที่ 3 ช่วงการพรุน,สร้างช่อ,เลี้ยงช่อดอก
1.ตอบสนองต่อการถูกกระตุ้นได้ดี สายพันธุ์นี้จะติดช่อดอกได้ง่าย และติดได้ในจำนวนมาก เมื่อทำการพรุนกิ่ง,ใบ
2.ช่วงแตกตาดอกและแตกช่อดอก จะอ่อนแอต่อการเข้าทำลายของ โรค,แมลง โดยเฉพาะเพลี้ยไฟจะทำลายช่อดอกได้ทั้งหมด (มีคลิบแนะนำการเลี้ยงแตกช่อดอก)
3.การพัฒนาการของช่อดอกจะเป็นไปอย่างรวดเร็ว การควบคุมการให้น้ำจะสำคัญมาก น้ำมากจะส่งผลให้ช่อร่วงง่าย
4.หากต้องการพวงใหญ่ขึ้นขยายยืดยาวมากขึ้นจำนวนผลมากขึ้นควรทำการยืดช่อด้วย ฮอร์โมน jibberellin
●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●
ช่วงที่ 4 ช่วงการเลี้ยงผล,การเข้าสีและทำความหวาน
1. ช่วงเติบโตของผลพบว่าสายพันธุ์นี้เติบโตได้เร็ว ทั้งนี้ขึ้นกับสภาพอากาศ(เร็วกว่าข้อมูลของสายพันธุ์เดิม)พบว่าความร้อนสูงส่งผลถึงความเร็วของการเปลี่ยนแปลงในผลทำให้สุกเร็วและการเปลี่ยนสีของผล
2.พบว่าความร้อนมีการตอบสนองต่อการเร่ง ทั้งการเข้าสีและการเพิ่มความหวาน
3.พบปัญหาเพียงเล็กน้อยแม้ในผลที่ถูกเพลี้ยไฟเข้าทำลาย มีการต้านทานได้ดี (พันธุ์ที่มีเปลือกบางจะพบปัญหานี้ จึงต้องควบคุมการเลี้ยงในช่วงนี้ให้ดี)
4.พบปัญหาโรคผลเน่าในช่วงผลไกล้สุก(ไม่มากนัก)
●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●
ช่วงที่ 5 ช่วงฟื้นฟูหลังการเก็บเกี่ยว
1.พบว่าสามารถทยอยเก็บผลทานได้ตั้งแต่ก่อนที่ผลจะสุกหรือตั้งแต่องุ่นเริ่มส่งกลิ่นหอม และทยอยเก็บหลังจากสุกได้ระยะเวลาหนึ่ง
2.พบว่าสายพันธุ์นี้ไม่มีระยะพักตัว จะสามารถแตกยอดใหม่ชุดใหม่ได้ทันที
●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●
ข้อมูลชุดนี้ ผลิตโดย
ศูนย์วิจัยองุ่นนอกตำรา Amber grape farm
ข้อมูลส่วนใหญ่จะได้มาจากการทำการทดลองวิจัยภายในศูนย์มีข้อมูลบางส่วนที่อ้างอิงจากต้นทางของสายพันธุ์ที่นำเข้ามาปลูกรวมทั้งข้อมูลจาก ผู้ปลูกองุ่นรายอื่นๆในประเทศ
ข้อมูลบางส่วนอาจจะคลาดเคลือน,ไม่ตรงกัน กับการปลูกในสภาพแวดล้อมที่ต่างกันในภาคต่างๆของประเทศ,และการปลูกในแต่ละแห่ง,แต่ละเวลา แต่ละปัจจัยที่ใช้ในการเติบโตที่ต่างกัน
ทั้งหมดนี้ต่างก็มีส่วนที่จะทำให้ผลการเลี้ยงดูไม่เหมือนกันแต่ทั้งนี้ ลักษณะประจำพันธุ์ทางพันธุกรรมก็ยังจะคงเดิมจากแหล่งต้นทางที่นำเข้ามาปลูก
หมายเหตุ: เพื่อเป็นการจัดทำข้อมูลที่ถูกต้องและเพื่อให้ผู้ที่เข้ามาเรียนรู้ได้รับข้อมูล ความรู้ ที่ถูกต้องตรงความเป็นจริงที่สุด หากท่านใดที่มีข้อมูลเพิ่มเติมหรือข้อมูลที่ถูกต้องและข้อมูลมีความขัดแย้งกันช่วยส่งข้อมูลของท่านเข้ามาให้เราในช่องติดต่อกับเรา ตามลิ้งข้างล่างนี้ เราพร้อมรับทุกข้อมูลและทุกการติชมครับ●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●
>>"ปลูกพันธุ์อะไรดี? เป็นคำถามที่ท่านต้องหาคำตอบด้วยตัวเอง ซึ่งคำตอบนั้นมันก็จะมาจากความรู้, ความชอบ,ความต้องการ,ความพร้อมและวัตถุประสงค์ในการปลูกองุ่นของท่าน
●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●
>>"ปลูกพันธุ์อะไรดี? เป็นคำถามที่ท่านต้องหาคำตอบด้วยตัวเอง ซึ่งคำตอบนั้นมันก็จะมาจากความรู้, ความชอบ,ความต้องการ,ความพร้อมและวัตถุประสงค์ในการปลูกองุ่นของท่าน
●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●
สารบัญเนื้อหาข้อมูลการปลูกองุ่น
👉เมนูค้นหารายชื่อ"สายพันธุ์"
👉เมนูค้นหารายชื่อ"สายพันธุ์"ตามรสชาติ
👉เมนูค้นหารายชื่อ"กิ่งพันธุ์"
1. สายพันธุ์องุ่น (ข้อมูล,ลักษณะประจำพันธุ์,องุ่นที่ปลูกในไทย)
2. วิธีการปลูกและเลี้ยงดูต้นองุ่นแบบปลูกในที่จำกัด (ปลูกแบบนอกตำรา)
8.วัสดุ,อุปกรณ์,ในการปลูกองุ่น (สั่งซื้ออุปกรณ์โรงเรือนเช่นพลาสติกมุงหลังคา,มุ้งกันแมลงและระบบปลูกแบบ Semi hydro organicได้ที่นี้)
10.พูดคุยและติดต่อเรา
👉👉👉 สนใจผลิตภัณ์สั่งซื้อได้ที่
- สั่งซื้อต้นพันธุ์องุ่น
>>>"คลิกที่นี่"<<<
- สั่งซื้อ ปุ๋ย,สารอาหารสำหรับองุ่น
>>>"คลิกที่นี่"<<<
- สั่งซื้อ ฮอร์โมนและสารเพิ่มประสิทธิภาพการเติบโต
>>>"คลิกที่นี่"<<<
- สั่งซื้อดินปลูก,วัสดุปลูก
>>>"คลิกที่นี่"<<<
- สั่งชื้อระบบปลูกองุ่น,ไม้ผลอื่นๆ
>>>"คลิกที่นี่"<<<
- สั่งซื้อระบบปลูกผักแบบออโต้
>>>"คลิกที่นี่"<<<
- สั่งซื้อ ยาป้องกันกำจัดโรคองุ่น
(ยังไม่พร้อมวางจำหน่าย)
- สั่งซื้อ ยาป้องกันกำจัดแมลงเข้าทำลายองุ่น(แบบชีวภัณฑ์
(ยังไม่พร้อมวางจำหน่าย)
- สั่งซื้อพลาสติกมุงหลังคา
(ยังไม่พร้อมวางจำหน่าย)
- สั่งซื้อมุ้งกันแมลง
(ยังไม่พร้อมวางจำหน่าย)
●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●
- สั่งซื้อต้นพันธุ์องุ่น
- สั่งซื้อ ปุ๋ย,สารอาหารสำหรับองุ่น
- สั่งซื้อ ฮอร์โมนและสารเพิ่มประสิทธิภาพการเติบโต
- สั่งซื้อดินปลูก,วัสดุปลูก
- สั่งชื้อระบบปลูกองุ่น,ไม้ผลอื่นๆ
- สั่งซื้อระบบปลูกผักแบบออโต้
- สั่งซื้อ ยาป้องกันกำจัดโรคองุ่น
- สั่งซื้อ ยาป้องกันกำจัดแมลงเข้าทำลายองุ่น(แบบชีวภัณฑ์
- สั่งซื้อพลาสติกมุงหลังคา
- สั่งซื้อมุ้งกันแมลง
ความคิดเห็น