⭐☆Geliodor grape (เกลิโอดอร์)
ข้อมูลขององุ่น
สายพันธุ์ Geliodor
(พันธุ์แนะนำปลูกในไทย)
>>จุดเด่นของสายพันธุ์นี้<<
- >>รสชาติหวานฉ่ำ มีกลิ่นหอมชัดเจนกรอบ,ไร้เมล็ด
- >> ติดช่อดอกง่ายมาก,พวงขนาดใหญ่ติดดอกได้ตลอดปีปลูกง่ายเติบโตเร็ว
- >>จุดเด่นสุดคือ ทิ้งไว้ที่ต้นได้นานโดยไม่เสียและจะกลายเป็นลูกเกด
♡คำแนะนำในการเลือกปลูก♡
- >>องุ่นพันธุ์นี้มาจากประเทศยูเครน
- >>เป็นองุ่นประเภทใช้ทานสด
- >>พันธุ์นี้แนะนำสำหรับผู้ที่ชอบทานองุ่นที่ มีความกรอบ,หอมและหวาน อยู่ในผลเดียวกัน และท่านที่ อยากให้ผลองุ่นห้อยติดอยู่บนต้นได้นานๆแบบทยอยเก็บกินได้เรื่อยๆต้องเลือกพันธุ์นี้เลย และท่านที่อยากได้สายพันธุ์ที่ปลูกง่ายๆติดลูกแน่นอน,และติดลูกได้ตลอดปี ,ปลูกในกระถางก็ได้เหมาะสำหรับมือสมัครเล่นหรือท่านที่ต้องการปลูกองุ่นไว้กินเองบ้าน,ท่านที่ปลูกไม่เป็น,ไม่มีพื้นที่ ปลูกมากนัก
- >>พันธุ์นี้จะติดผลง่าย พวงใหญ่สามารถติดได้เอง,แทบไม่ต้องซอยผล,ปลูกง่าย,โตเร็ว ต้านทาน โรค,แมลงได้ดีพอสมควร ทนอากาศร้อนได้ดี เจริญเติบโตได้ดีเมื่อปลูกในกระถางเหมาะกับการปลูกในประเทศไทย ปลูกได้ทุกภาค
ลักษณะประจำพันธุ์ Geliodor
เป็นข้อมูลที่เราได้ทำการเก็บรวบรวมจากการทดลองปลูกในศูนย์รวมทั้งข้อมูลจากต้นทางของสายพันธุ์ (สวนเสาวณีย์ ผู้นำเข้าและ บ้านสวน madebymee)
》รสชาต《หอม,หวาน
》ลักษณะผล《
- >> ผลสีเขียว-เหลืองนวลหรือเหลืองทอง ทรงรูปไข่ เนื้อแน่น มีกลิ่นหอม
- >> ระยะสุก เร็ว 95-100 วัน
- >> น้ำหนักผล 6-9 กรัม
- >> ความหวาน 19-20 brix
- >> ไร้เมล็ด แต่บางผลอาจมีเมล็ดบ้าง1เมล็ด(ปลูกบางแห่งจะมีเมล็ด)
- >> ทานได้ทั้งเปลือก
》 ช่อ,ดอก,พวง《
- >> พวงใหญ่มาก ในพวงอาจมีถึง 3ช่อ
- >> โครงสร้างช่อดอก และพวง คล้าย Veles
- >> สมบูรณ์เพศ
》 ลักษณะใบ,กิ่ง,ลำต้น《
- >> ลักษณะใบแบบ5แฉกผ่ากลางใบขนาดใหญ่ หนาปานกลาง สีเขียวเข้ม
- >> ยอดอ่อน สีน้ำตาลอ่อน
- >> ข้อปล้อง ถ้ามีการเติบโตอย่างสมบูรณ์ ข้อปล้องจะยืดยาวมาก
- >> กิ่งแขนงมีสีแดงเรื่อๆแทรกอยู่ตลอดกิ่ง รวมทั้งตาอ่อน ก็จะมีสีแดง
》การเจริญเติบโต《
- >> ให้ผลผลิตสูง ทรงพุ่มแข็งแรง
- >> มีความต้านทานต่อโรคเชื้อรา ระดับ
- >> ปลูกง่ายโตเร็วติดดอกง่ายติดเยอะออกดอกเป็นพวงใหญ่ ,ช่อห่าง แทบไม่ต้องซอยผล
- >> ทนสภาพอากาศร้อนสูงได้ดี เหมาะกับการปลูกในประเทศไทย ปลูกได้ทุกภาค
- >> ผล เมื่อสุกแล้ว ยังคงค้างอยู่บนต้นได้นานโดยไม่สูญเสียรสชาติและ ความสด
●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●
》ถ้าสนใจต้นพันธุ์ Geliodorไปปลูกไปเลือกรูปแบบ,ขนาด,ราคาและสต๊อกและสั่งซื้อ
》ถ้าต้องการพูดคุยกับเราโดยตรง
》ถ้าต้องการเลือกซื้อสายพันธุ์อื่นๆ
》หาก ท่านอยากรู้จักสายพันอื่นๆที่ปลูกได้ผลดีในไทย
●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●
》ลักษณะ ใบ,ยอดอ่อน,กิ่ง,ลำต้นของสายพันธุ์ Geliodor ดูที่คลิปด้านล่าง《
》ลักษณะ ช่อ,ดอก,ผล ของสายพันธุ์ Geliodor ดูที่คลิบด้านล่าง《
●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●
●ข้อแนะนำพิเศษในการเลี้ยงดูสายพันธุ์ Geliodor●
- เนื่องจากสายพันธุ์นี้มีใบขนาดใหญ่ ยอดเลี้อยได้เร็ว โตเร็ว ระยะ การจัดกิ่งแขนงให้จัดระยะห่างให้มีพื้นที่ใบได้รับแสงแดดอย่างทั่วถึง
- พันธุ์นี้จะต้องรดน้ำในปริมาณเยอะมากกว่าพันธุ์อื่นๆสักหน่อย เพราะว่าใบมีขนาดใหญ่และมีจำนวนมาก หนาแน่น ทำให้ใช้น้ำเยอะมาก.ในช่วงติดผลก็ใช้น้ำเยอะเช่นกันเพราะว่าสายพันธุ์นี้จะมีพวงขนาดใหญ่ทำให้มีจำนวนของผลจำนวนมาก การคายน้ำและใช้น้ำในผลจึงมีมากกว่าปกติ
- ต้องคอยตัดยอด,หน่อ,หนวด,ช่อดอกให้ทันต่อการเติบโต เพราะสายพันธุ์นี้จะโตเร็วมากและแอบติดช่อดอกได้ตลอดเวลา
- ต้องทำให้รากของเขาอยู่สุขสบาย ให้มากๆ หากรากอยู่อย่างสบายเขาก็จะเจริญเติบโตได้ดีและเร็ว ทั้งนี้ต้องเน้นที่วัสดุปลูกให้โปร่ง,ร่วนซุย น้ำไม่ขังดินไม่แฉะ
- ตลอดการเลี้ยงดูต้องเน้นสร้าง"ระบบอินทรีย์"ให้มีอยู่อย่างพอเพียงและตลอดเวลา เพราะว่า การปลูกในกระถางหรือในที่จำกัดนั้น "ระบบอินทรีย์"จะไม่มีเลยหรือมีน้อยมาก ซึ่งจะส่งผลให้ต้นองุ่นเติบโตได้ช้าหรือไม่เติบโตเลย
การสร้างระบบอินทรีย์ให้เกิดขึ้นในที่จำกัดอย่างนี้ เราจำเป็นต้องใช้ปุ๋ยอินทรีย์เป็นหลักและเสริมด้วยปุ๋ยเคมีเพียงนิดหน่อยตามความเหมาะสมและตามช่วงอายุของต้นองุ่น
ซึ่งทาง "ศูนย์วิจัยองุ่นนอกตำรา Amber grape farm" ได้ทำการค้นคว้าวิจัยสร้างปุ๋ยที่จะใข้สำหรับเลี้ยงดูต้นองุ่นที่ปลูกในกระถางหรือปลูกในที่จำกัดโดยเฉพาะออกมาใช้ได้แล้ว
●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●
●ข้อมูล,รายละเอียดผลการเลี้ยงดู●
หมายเหตุ: ข้อมูลนี้เป็นข้อมูลที่เก็บจากการเลี้ยงในกระถางบล๊อกซีเมนต์(Semi-hydro organic )และทดลองเลี้ยงแบบกลางแจ้งไม่มีโรงเรือน เลี้ยงภายในโดมของ "ศูนย์วิจัยองุ่นนอกตำรา Amber grape farm" เป็นข้อมูลการตอบสนองต่อการเลี้ยงดูให้เติบโตในช่วงต่างๆของสายพันธุ์ Geliodor ต่อการปลูกในที่จำกัด(ปลูกในบล็อกซีเมนต์)
ช่วงที่ 1.ช่วงการเติบโตและสร้างกิ่งแขนง
- สร้างแตกกิ่งแขนง=สร้างได้ง่าย ระยะข้อปล้องพอดี(ไม่ห่างและไม่ถี่มาก)ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับควบคุมการตัดแต่ง,จัดกิ่งอย่างถูกต้อง(มีคลิบแนะนำการสร้างกิ่งแขนงให้สมบูรณ์)
- ความเร็วการเติบโต= เติบโตได้เร็วมาก อาจยาวได้มากกว่า10 เซนติเมตรต่อวัน(ในสภาพที่ได้รับปุ๋ย,อาหารอย่างถูกต้องและต่อเนื่อง)
- ช่วงแตกใบอ่อน= มีความต้านทานต่อการเข้าทำลายของเพลี้ยไฟได้ดีกว่าสายพันธุ์ Veleze)
- พบว่าการป้องกันน้ำฝนด้วยการปลูกในโรงเรือนหรือทำหลังคาพลาสติกกันฝนจะทำให้ใบและกิ่งองุ่นไม่เป็นเชื้อราเลย
●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●
ช่วงที่ 2.ช่วงการสะสมอาหารเตรียมการติดดอกออกผล
- สายพันธุ์นี้มีความสามารถในการสร้างฮอร์โมนในการแตกตาดอกได้ด้วยตัวเองเป็นอย่างดี ซึ่งจะทำให้เขาติดช่อได้ตลอดระยะการเติบโต(ต้องตอยเด็ดออก)
- ในช่วงของการเติบโตสร้างกิ่งแขนง พบว่ามีการสะสมอาอาหารบางส่วนไปพร้อมกันทำให้ต้นมีความพร้อมในการติดช่อดอกตลอดระยะการเติบโต(มักจะพบช่อดอกตลอดช่วงการเติบโต)ทำให้ ช่วงเวลาในการสะสมอาหารสั้นลง
- มีการสะสมอาหารได้เร็ว และได้มากหากเราทำการสร้างใบให้สมบูรณ์จำนวนมากและใส้ปุ๋ยได้ถูกต้องทั้งชนิด,ปริมาณและเวลาที่ใส่(มีคลิบแนะนำเทคนิคการสร้างใบในช่วงเจริญเติบโต)
- ในช่วงสะสมอาหารจะปลอดจากการเข้าทำลายของ โรค,แมลง เฉพาะช่วงนี้เพราะว่าช่วงนี้ไม่มีใบอ่อน,ยอดอ่อน (มีคลิบแนะนำการเลี้ยงช่วงสะสมอาหาร)
●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●
ช่วงที่ 3 ช่วงการพรุน,สร้างช่อ,เลี้ยงช่อดอก
- ตอบสนองต่อการถูกกระตุ้นได้ดี สายพันธุ์นี้จะติดช่อดอกได้ง่าย และติดได้ในจำนวนมาก เมื่อทำการพรุนกิ่ง,ใบ
- ช่วงแตกตาดอกและแตกช่อดอก จะอ่อนแอต่อการเข้าทำลายของ โรค,แมลง โดยเฉพาะเพลี้ยไฟจะทำลายช่อดอกได้ทั้งหมด (มีคลิบแนะนำการเลี้ยงแตกช่อดอก)
- การพัฒนาการของช่อดอกจะเป็นไปอย่างรวดเร็ว การควบคุมการให้น้ำจะสำคัญมาก น้ำมากจะส่งผลให้ช่อร่วงง่าย
- พบว่าการชุบด้วยฮอร์โมน Jibberrallin ทำให้ช่อยืดขยายยาวขึ้นซึ่งจะทำให้พวงใหญ่ขึ้น ได้จำนวนผลมากขึ้น ไม่ต้องมีการซอยผลออก
- พบว่าการป้องกันน้ำฝนด้วยการปลูกในโรงเรือนหรือทำหลังคาพลาสติกกันฝนจะทำให้ผลองุ่นไม่เป็นเชื้อราเลย
●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●
ช่วงที่ 4 ช่วงการเลี้ยงผล,การเข้าสีและทำความหวาน
- ช่วงเติบโตของผลพบว่าสายพันธุ์นี้เติบโตได้เร็วมากและเข้าสีได้เร็ว(เร็วกว่าข้อมูลของสายพันธุ์เดิม)
- พบว่าความร้อนมีผลต่อการตอบสนองต่อการเร่ง ทั้งการเข้าสีและการเพิ่มความหวาน
- พบปัญหาลูกแตกปานกลาง มีการต้านทานได้ดี (พันธุ์ที่มีเปลือกบางจะพบปัญหานี้ จึงต้องควบคุมการเลี้ยงในช่วงนี้ให้ดี)
- พบปัญหาโรคผลเน่าในช่วงผลไกล้สุก(ไม่มากนัก)
●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●
ช่วงที่ 5 ช่วงฟื้นฟูหลังการเก็บเกี่ยว
- พบว่าสามารถทิ้งผลไว้คาต้นได้นานมากกว่า 40 วัน ผลจะไม่เสียแต่รสชาตจะหวานมากขึ้น ลูกเหี่ยวผลหดตัว ขั้วผลแห้ง ผลจะแห้งไปเป็นลูกเกด
- จากการทิ้งลูกไว้คาต้นนาน ทำให้มีการแตกยอดใหม่ขึ้น แทรกตามกิ่งต่างๆ ทำให้การเตรียมการเลี้ยงกิ่งในรุ่นใหม่ไม่เสม่ำเสมอกัน จึงต้องทำการตัดกิ่งและยอดใหม่ทิ้งไปเพื่อกระตุ้นให้มีการแตกยอดใหม่พร้อมกันอีกครั้ง
●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●
ข้อมูลชุดนี้ ผลิตโดย
"ศูนย์วิจัยองุ่นนอกตำรา Amber grape farm"
ข้อมูลส่วนใหญ่จะได้มาจากการทำการทดลองวิจัยภายในศูนย์มีข้อมูลบางส่วนที่อ้างอิงจากต้นทางของสายพันธุ์ที่นำเข้ามาปลูกรวมทั้งข้อมูลจาก ผู้ปลูกองุ่นรายอื่นๆในประเทศ
ข้อมูลบางส่วนอาจจะคลาดเคลือน,ไม่ตรงกัน กับการปลูกในสภาพแวดล้อมที่ต่างกันในภาคต่างๆของประเทศ,และการปลูกในแต่ละแห่ง,แต่ละเวลา แต่ละปัจจัยที่ใช้ในการเติบโตที่ต่างกัน
ทั้งหมดนี้ต่างก็มีส่วนที่จะทำให้ผล การเลี้ยงดูไม่เหมือนกันแต่ทั้งนี้ ลักษณะประจำพันธุ์ทางพันธุกรรมก็ยังจะคงเดิมจากแหล่งต้นทางที่นำเข้ามาปลูก
**หมายเหตุ**:
เพื่อเป็นการจัดทำข้อมูลที่ถูกต้องและเพื่อให้ผู้ที่เข้ามาเรียนรู้ได้รับข้อมูล ความรู้ ที่ถูกต้องตรงความเป็นจริงที่สุด หากท่านใดที่มีข้อมูลเพิ่มเติมหรือข้อมูลที่ถูกต้องและข้อมูลมีความขัดแย้งกันช่วยส่งข้อมูลของท่านเข้ามาให้เราในช่องติดต่อกับเรา ตามลิ้งข้างล่างนี้ เราพร้อมรับทุกข้อมูลและทุกการติชมครับ
●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●
>>"ปลูกพันธุ์อะไรดี? เป็นคำถามที่ท่านต้องหาคำตอบด้วยตัวเอง ซึ่งคำตอบนั้นมันก็จะมาจากความรู้, ความชอบ,ความต้องการ,ความพร้อมและวัตถุประสงค์ในการปลูกองุ่นของท่าน
>>"ดูคำแนะนำในการเลือกสายพันธุ์ในการนำไปปลูก" (ต้องดูก่อนซื้อสายพันธุ์ไปปลูก)
สารบัญเนื้อหาข้อมูลการปลูกองุ่น
- 1.สายพันธุ์องุ่น (ข้อมูล,ลักษณะประจำพันธุ์,องุ่นที่ปลูกในไทย)
- >>>"คลิกที่นี่"<<<
- 2.วิธีการปลูกและเลี้ยงดูต้นองุ่นแบบปลูกในที่จำกัด (ปลูกแบบนอกตำรา)
- >>>"คลิกที่นี่"<<<
- 3.ต้นพันธุ์,ข้อแนะนำเลือกซื้อต้นพันธุ์และชนิดสายพันธุ์ไปปลูก,วิธีขยายพันธุ์
- >>>"คลิกที่นี่<<<
- 4.ถาม~ตอบ สารพันปัญหาในการเลี้ยงองุ่นในแต่ละขั้นตอน
- >>>"คลิกที่นี่"<<<
- 5.ปุ๋ยอินทรีย์,ปุ๋ยอินทรีย์เคมี สำหรับเลี้ยงต้นองุ่น(ข้อมูล,ความรู้,ผลิตภัณฑ์)
- >>>"คลิกที่นี่"<<<
- 6.ฮอโมนพืช ในการเลี้ยงดูต้นองุ่น(ความรู้"ข้อมูลและผลิตภัณฑ์)
- >>>"คลิกที่นี่"<<<
- 7.การป้องกันกำจัดโรค,แมลง ในตันองุ่น(ความรู้ ข้อมูล,ผลิตภัณฑ์)
- >>>"คลิกที่นี่"<<<
- 8.วัสดุ,อุปกรณ์,ในการปลูกองุ่น (สั่งซื้ออุปกรณ์โรงเรือนเช่นพลาสติกมุงหลังคา,มุ้งกันแมลงและระบบปลูกแบบ Semi hydro organicได้ที่นี้)
- >>>"คลิกที่นี่"<<<
- 9.พรรณไม้และผลิตภัณฑ์ชนิดอื่นๆในฟาร์ม( มีวางจำหน่าย)
- >>>"คลิกที่นี่"<<<
- 10.พูดคุยและติดต่อเรา
- >>>"คลิกที่นี่"<<<
สารบัญเนื้อหาข้อมูลการปลูกองุ่น
- 1.สายพันธุ์องุ่น (ข้อมูล,ลักษณะประจำพันธุ์,องุ่นที่ปลูกในไทย)
- >>>"คลิกที่นี่"<<<
- 2.วิธีการปลูกและเลี้ยงดูต้นองุ่นแบบปลูกในที่จำกัด (ปลูกแบบนอกตำรา)
- >>>"คลิกที่นี่"<<<
- 3.ต้นพันธุ์,ข้อแนะนำเลือกซื้อต้นพันธุ์และชนิดสายพันธุ์ไปปลูก,วิธีขยายพันธุ์
- >>>"คลิกที่นี่<<<
- 4.ถาม~ตอบ สารพันปัญหาในการเลี้ยงองุ่นในแต่ละขั้นตอน
- >>>"คลิกที่นี่"<<<
- 5.ปุ๋ยอินทรีย์,ปุ๋ยอินทรีย์เคมี สำหรับเลี้ยงต้นองุ่น(ข้อมูล,ความรู้,ผลิตภัณฑ์)
- >>>"คลิกที่นี่"<<<
- 6.ฮอโมนพืช ในการเลี้ยงดูต้นองุ่น(ความรู้"ข้อมูลและผลิตภัณฑ์)
- >>>"คลิกที่นี่"<<<
- 7.การป้องกันกำจัดโรค,แมลง ในตันองุ่น(ความรู้ ข้อมูล,ผลิตภัณฑ์)
- >>>"คลิกที่นี่"<<<
- 8.วัสดุ,อุปกรณ์,ในการปลูกองุ่น (สั่งซื้ออุปกรณ์โรงเรือนเช่นพลาสติกมุงหลังคา,มุ้งกันแมลงและระบบปลูกแบบ Semi hydro organicได้ที่นี้)
- >>>"คลิกที่นี่"<<<
- 9.พรรณไม้และผลิตภัณฑ์ชนิดอื่นๆในฟาร์ม( มีวางจำหน่าย)
- >>>"คลิกที่นี่"<<<
- 10.พูดคุยและติดต่อเรา
- >>>"คลิกที่นี่"<<<
●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●
●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●
👉👉👉 สนใจผลิตภัณ์สั่งซื้อได้ที่
- สั่งซื้อต้นพันธุ์องุ่น
- สั่งซื้อ ปุ๋ย,สารอาหารสำหรับองุ่น
- สั่งซื้อ ฮอร์โมนและสารเพิ่มประสิทธิภาพการเติบโต
- สั่งซื้อต้น มัลเบอร์รี่
- สั่งซื้อดินปลูก,วัสดุปลูก
- สั่งชื้อระบบปลูกองุ่น,ไม้ผลอื่นๆ
- สั่งซื้อระบบปลูกผักแบบออโต้
- สั่งซื้อ ยาป้องกันกำจัดโรคองุ่น
(ยังไม่พร้อมวางจำหน่าย)
- สั่งซื้อ ยาป้องกันกำจัดแมลงเข้าทำลายองุ่น แบบชีวภัณฑ์
(ยังไม่พร้อมวางจำหน่าย)
- สั่งซื้อพลาสติกมุงหลังคา
(ยังไม่พร้อมวางจำหน่าย)
- สั่งซื้อมุ้งกันแมลง
(ยังไม่พร้อมวางจำหน่าย)
●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●●
ภาพ,คลิบ ลักษณะ ต้น,ใบ,ช่อดอก,ผล ของ
องุ่นสายพันธุ์ Geliodor
ความคิดเห็น